กลับมาอีกครั้งกับคอนเทนต์ที่จะช่วยให้คุณนั้นตัดสินใจซื้อเครื่องมือซ่อมจักรยาน Park Tool บนช่องทางการขายออนไลน์อย่าง Lazada และ Shopee ได้อย่างเหมาะสมนะครับ คราวที่แล้วเราได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการเลือกซื้ออุปกรณ์แต่ละโมเดลว่าควรจะซื้อตัวไหนดี อย่างประแจปอนด์ กับ ที่งัดยาง ไปแล้ว วันนี้เราก็จะพามาดูอุปกรณ์ซ่อมจักรยานอีกตัวนึงซึ่งมีหลายโมเดลเช่นกัน มาดูกันว่าเราจะเลือกแบบไหนกันดีถ้ามันคืออุปกรณ์เดียวกันแต่หน้าตาไม่เหมือนกัน

ที่เราจะยกตัวอย่างกันในวันนี้คือ ประแจโซ่หรือตัวจับเฟืองหลังเวลาถอดล็อคลิงเฟืองเพื่อทำการเซอร์วิสโม่หรือนำเฟืองออกมาล้างทำความสะอาดครับ ซึ่งเจ้าตัวจับเฟืองก็มีอยู่ด้วยกันถึง 4 แบบ คือ ที่มีรูปร่างหน้าตาเป็นประแจโซ่ HCW-16.3 , SR-12.2 , SR-2.3 และตัวที่หน้าตาเหมือนกับคีม คือ CP-1.2 ถามว่าควรจะเลือกอย่างไรดีในเมื่อมันคือตัวจับเฟืองเหมือนกัน? งั้นเรามาดูกันทีละตัวเลยดีกว่า

เริ่มจาก HCW-16.3 กันก่อน หน้าตาจะดูออกเป็นเหล็กทั้งแท่ง ส่วนที่เป็นด้ามจับก็เป็นเหล็กไปทั้งชิ้นไม่มีส่วนที่ทำด้วยพลาสติกหรือยางสีน้ำเงินเลยแม้แต่น้อย แต่คุณภาพใช้ได้ดีเหมือนกับตัวอื่นๆ โซ่ของ HCW-16.3 สามารถจับเฟืองจักรยานเสือหมอบและเสือภูเขาได้ตั้งแต่ 5-12 สปีด และยังรองรับการใช้งานร่วมกับชุดขับ SRAM AXS ด้วย แต่ที่ทำให้ HCW-16.3 มันแตกต่างจากตัวอื่นๆ คือ อีกด้านมันมีประแจขนาด 15 มม. ที่สามารถใช้ถอดบันไดจักรยานได้ ซื้อเจ้าตัวนี้ไปตัวนึงสามารถใช้ได้ทั้งจับเฟืองและถอดบันไดจักรยานเลยทีเดียว

ชิ้นที่สองคือ SR-12.2 หน้าตาเป็นด้ามจับที่ทำด้วยพลาสติกสีน้ำเงินช่วยให้ใช้งานง่ายและจับถนัดมือ ด้านที่เป็นโซ่ของ SR-12.2 สามารถใช้จับเฟืองจักรยานเสือหมอบและเสือภูเขาได้ตั้งแต่ 5-12 สปีด รองรับการใช้งานร่วมกับชุดขับ SRAM AXS ด้วย ปลายอีกด้านหนึ่งของ SR-12.2 ยังมีหัวบล็อกประแจขนาด 25.4 มม. ไว้ใช้ร่วมกับตัวถอดล็อคลิงเฟืองอีกด้วย

เรามาเปรียบเทียบแค่สองโมเดลนี้กันก่อน หากถามว่า 2 ชิ้นนี้เราจะเลือกตัวไหนดี เบื้องต้นก็ต้องบอกว่าแล้วแต่พี่ๆ จะตัดสินใจครับ เพราะว่าในเรื่องของการใช้จับเฟือง 2 ตัวนี้ไม่ต่างกัน แตกต่างกันแค่รูปลักษณ์ภายนอกและที่ปลายหัวอีกด้านเท่านั้น ถ้าหากว่าพี่ๆ มีประแจหัวเลื่อนอยู่ที่บ้านแล้ว เราแนะนำว่าให้ใช้ HCW-16.3 เพราะว่าประแจหัวเลื่อนนั้นสามารถใช้งานร่วมกับตัวถอดล็อคลิงเฟืองได้ ตอนจะใส่ล็อคลิงเฟืองกลับก็สามารถใช้ประแจหัวเลื่อนจับตัวถอดล็อคลิงเพื่อขันแน่นได้เช่นกัน เมื่อเราซื้อ HCW-16.3 ไปก็จะกลายเป็นว่าเราได้ประแจถอดบันไดมาใช้งานด้วย ก็ไม่ต้องซื้อตัวถอดบันไดเพิ่มนั่นเอง อีกกรณีคือถ้าเรามีประแจหัวเลื่อนอยู่ที่บ้านแล้วเหมือนกัน แต่บันไดจักรยานของเราเป็นแบบที่ต้องใช้หัวหกเหลี่ยมขันแกนจากด้านหลังเพื่อถอดออก กรณีนี้เราแนะนำให้ซื้อ SR-12.2 เพราะว่าเราไม่มีความจำเป็นที่เราจะต้องใช้ประแจหัว 15 มม. ไว้ถอดบันไดจักรยาน จึงเลือกใช้ SR-12.2 ดีกว่า อีกทั้ง SR-12.2 ยังสามารถใช้ร่วมกับตัวถอดล็อคลิงเฟืองได้อีกด้วย เวลาใส่ล็อคลิงกลับเพื่อขันแน่นก็ใช้แค่ปลายหัวบล็อกขนาด 25.4 มม. ร่วมกับตัวถอดเฟืองของพี่ๆ ขันแน่นได้เลยโดยไม่ต้องไปพึ่งพาประแจหัวเลื่อนครับ

คราวนี้มาดูตัวจับโซ่อีก 2 ตัวที่เหลือครับ คือ SR-2.3 กับ CP-1.2 หน้าตาต่างกันลิบลับเลย แค่ 2 ตัวนี้ไม่ได้มีออฟชั่นเสริมอะไรมากมายเหมือนกับสองตัวแรกที่เรากล่าวไปข้างต้น สำหรับ SR-2.3 นั้นไม่มีอะไรมากเลย มันคือประแจโซ่ธรรดาๆ อันนึงที่สามารถใช้งานร่วมกับเฟืองจักรยานเสือหมอบและเสือภูเข้าตั้งแต่ 5-12 สปีด รองรับการใช้งานร่วมกับชุดขับ SRAM AXS ด้วย เหมาะสำหรับมือใหม่และผู้ที่ไม่ต้องการหัวบล็อกหรือประแจถอดบันได พูดง่ายๆ มันคือประแจโซ่ที่แท้จริงแบบไม่มีหัวอะไรมาเสริมเติมแต่งนั่นเอง ใครที่ต้องการประแจโซ่จับเฟืองแค่อย่างเดียวก็ SR-2.3 นี่แหละครับเหมาะสมสุดๆ

ส่วนตัวที่หน้าตาแปลกกว่าพวกสุดๆ เลยอย่าง CP-1.2 ที่มีลักษณะเป็นคีมจับเฟือง หน้าตาแตกต่างวิธีใช้งานก็แตกต่างครับ เพราะว่าเจ้านี่ไม่ต้องใช้ด้ามโซ่คล้องเฟือง เพราะมันไม่มี! มันเป็นคีมที่ปลายหัวมีลักษณะเป็นโซ่โค้งๆ นิดนึง วิธีการใช้คือเหมือนเวลาเราใช้คีมจับครับเอาคีมจับเฟือง CP-1.2 จับไปที่เฟืองแค่นั้นก็จับอยู่แล้ว ง่ายดีใช่ไหมล่ะ เจ้าตัวนี้มีดีตรงที่มันสามารถจับฟันเฟือง 9 -24 ซี่ ได้อย่างรวดเร็วและไม่ยุ่งยากเลย ความยาวอยู่ที่ 35 ซม. สามารถใช้งานด้วยมือเดียว จับเฟืองได้ตั้งแต่ 5 -12 สปีด รองรับการใช้งานร่วมกับชุดขับ SRAM AXS ด้วยเช่นกัน วัสดุทำมาจากเหล็ก มีสปริงล็อคตรงด้ามจับเมื่อไม่ใช่งาน เจ้า CP-1.2 นี้เราจะเห็นตามร้านเซอร์วิสใช้กันมากกว่า แต่ถ้าหากมือใหม่อยากใช้ก็สามารถใช้ได้เพราะมันใช้ไม่ยากเลย น่าจะเป็นตัวจับเฟืองที่ใช้งานง่ายที่สุดเลยก็ว่าได้ แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังทำได้แค่จับเฟืองอยู่ดีนะครับ เป็นตัวจับเฟืองอย่างแท้จริงเหมือนกับเจ้า SR-2.3 เลย เพียงแค่ลักษณะมันต่างกัน

สรุปแล้วถ้าหากจะเลือกซื้อตัวจับเฟืองสักชิ้น ก็ต้องดูที่วัตถุประสงค์ของตัวผู้ใช้เป็นหลักก่อนครับว่าอยากได้เป็นแบบตัวจับเฟืองจริงๆ ที่ไม่ได้มีออฟชั่นอะไรเสริมเลยไหม หรือว่าเราต้องการแบบที่มีออฟชั่นเสริมอย่างเช่นบล็อกที่ใช้งานร่วมกับตัวถอดล็อกลิงเฟืองหรือประแจถอดบันไดไว้ใช้งานด้วยไหม ก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของพี่ๆ ครับผม ทั้งนี้ยังมีอีกหลากหลายอุปกรณ์เลยของ Park tool ที่เป็นอุปกรณ์เดียวกันแต่หน้าตาไม่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน ก็อยากให้พี่ๆ ติดตามคอนเทนต์นี้ของเราไว้นะครับ ว่าคราวหน้าเราจะมาแนะนำอุปกรณ์ตัวไหนและวิธีเลือกซื้อยังไงให้เหมาะสม จะได้ซื้อไปแล้วใช้งานได้คุ้มค่าและเลือกซื้อบนช่องทางการขายออนไลน์ได้อย่างเหมาะสมครับ ขอบคุณครับ