ในปัจจุบันนั้น Power Meter กลายเป็นอุปกรณ์ที่นักปั่นสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายและไม่รอช้าที่จะเสียเงินเพื่อได้มันมาใช้งาน แต่หลายๆ คนที่ได้มานั้นอาจจะยังคงสับสนว่ามันคืออะไรใช้ซ้อมยังไงกันแน่ เพราะนักปั่นบางคนไม่เคยใช้งาน การใช้ Power Meter หรือขาวัตต์จะเปลี่ยนวิธีการฝึกซ้อมของคุณใหม่จนคุณลืมการซ้อมแบบเก่าๆ ไปเลย แต่ก็ยังมีคำถามที่หลายคนยังคงสงสัยว่าทำไมเราถึงไม่ใช้อัตราการเต้นหัวใจหรือความเร็วในการซ้อมล่ะ เพราะว่ามันเป็นวิธีที่ใช้มันมาตั้งนานแล้ว? ถ้างั้นเรามาดูเหตุผลกัน
ทำไมถึงไม่ใช้อัตราการเต้นของหัวใจ (HR) ในการซ้อม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 นักปั่นส่วนใหญ่นิยมใช้อัตราการเต้นของหัวใจในการฝึกซ้อมทำให้นักกีฬาส่วนใหญ่คุ้นเคยกับวิธีนั้นมากกว่า แต่การวัดค่าการเต้นของหัวใจมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ มาแทรกแซงได้ เช่น การควบคุมอาหาร การตื่นเต้นระหว่างแข่งขัน ความเครียด หรือแม้กระทั่งการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เหตุผลเหล่านี้ทำให้อัตตราหัวใจมีการเต้นที่สูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งมันมีผลต่อการนำไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อวางแผนการการแข่งขัน ค่าหัวใจที่เราใช้วัดและได้มาจึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
อัตราการเต้นหัวใจขึ้นอยู่กับการออกแรงของกล้ามเนื้อ หัวใจไม่ทำให้เราออกแรงมากขึ้นเพราะหัวใจไม่เหมือนกับกำลังเครื่องยนต์ที่ส่งพลังให้กับรถ แต่ “หัวใจของเราเป็นตัวสูบฉีดเลือดซึ่งเปรียบเหมือนน้ำมันที่เข้าไปสูบฉีดเครื่องยนต์ตอนเผาผลาญ” ยกตัวอย่างเช่นเวลาเราปั่นจักรยานขึ้นเขาหัวใจของเราก็จะทำงานหนักมากขึ้นโดยการสูบฉีดเลือดเข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ไม่ได้ส่งแรงให้กล้ามเนื้อแต่อย่างใดและการที่เลือดสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ นั้นไม่แสดงว่าร่างกายมีความแข็งแรงในการออกกำลังกาย เราควรมองนักปั่นจักรยานเป็นเครื่องยนต์ที่มีขุมพลังมากกว่าการเน้นอัตตราการเต้นของหัวใจที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ เราควรโฟกัสการพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรงมากขึ้นในระหว่างการฝึกซ้อมต่างหาก อัตราการเต้นหัวใจไม่ได้บอกประสิทธิภาพในการซ้อมแต่เราสามารถใช้ค่านี้ไปช่วยเปรียบเทียบกับค่าอื่นๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่สามารถนำไปวิเคราะห์ได้ การใช้ Power Meter ที่วัดแรงกระทำจากขาจานเป็นอุปกรณ์หลักจึงเป็นค่าที่เที่ยงตรงและเหมาะสำหรับการใช้พัฒนาศักยภาพมากที่สุดในตอนนี้
การใช้ความเร็ว (Speed) ในการซ้อม เหมือบกับที่เราพูดไปข้างบนว่ามันมีปัจจัยอื่นแทรกแซงได้นั่นเอง สำหรับความเร็วสิ่งที่เข้ามาทำให้ค่ามันไม่แม่นยำคือลม ความเร็วของลมจะมีผลต่อการปั่นจักรยาน เช่นถ้าเราปั่นขึ้นเขาสวนลมเราก็จะไปได้ช้า แต่ถ้าเราปั่นตามลมตอนลงเขาเราก็จะไปได้เร็ว ความเร็วลมในแต่ละวันก็ไม่เหมือนกัน ถนนแต่ละเส้นก็มีความชันที่แตกต่างกัน ซึ่งเราไม่สามารถวัดการพัฒนาของเราได้จากค่า Speed แต่ในทางกลับกันค่าวัตต์จาก Power Meter จะไม่มีผลต่อความชันและความเร็วลมระหว่างการแข่งขัน โดยนักกีฬาสามารถดูค่าวัตต์ได้จากไมล์จักรยานเลย ซึ่งมีความน่าเชื่อถือกว่าค่าอื่นๆ เมื่อเราเริ่มใช้ Power Meter ในครั้งแรกเราอาจจะให้ความสนใจกับตัวเลขวัตต์ที่อยู่ข้างหน้าเป็นพิเศษทำให้เราเสียสมาธิกับการซ้อม แต่หลังจากที่เราคุ้นเคยกับอุปกรณ์เราก็จะโฟกัสกับการซ้อมได้ดีขึ้น รู้จักใช้แรงและบริหารแรงได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
การใช้ความรู้สึก (Feel) ในการซ้อม / การปั่นด้วยความรู้สึก Rating of Perceived Exertion หรือ RPE (การประเมิณความหนักของการออกกำลังกายในการปั่นจักรยาน) เป็นวิธีที่นักปั่นทุกคนทำในช่วงต้นศตวรรษที่ผ่านมาใช้กัน หากคุณปั่นอยู่บนเนินเขาที่ยาวที่สุดของการแข่งขันมันไม่สามารถเตรียมความพร้อมที่ดีสำหรับทางนั้นๆ ได้เลยหากความเร็วและความรู้สึกของคุณคือตัววัดประสิทธิภาพในการปั่น การใช้ Power Meter ในการฝึกหรือแข่งขันภูเขาและลมไม่ได้มีผลเลย มันยังสามารถวัดค่าและทำงานได้อย่างแม่นยำสำหรับการแข่งขัน ในขณะที่คนอื่นๆ กำลังคาดเดาว่าการปั่นขึ้นเนินที่มีลมแรงนั้นต้องใช้แรงแค่ไหนต้องใช้ความเร็วแค่ไหนถึงจะผ่านไปได้ แต่ว่านักปั่นที่มีพาวเวอร์มิเตอร์กลับสามารถคำนวนค่าพลังงานที่ต้องใช้ได้ง่ายกว่าและแม่นยำกว่าด้วยตัวเลขที่อยู่บนจอไมล์จักรยาน
มีนักปั่นบางท่านได้บอกว่าเขาได้ฝึกซ้อมกับนักปั่นระดับสูงๆ ที่มีความชำนาญ ไม่ได้ใช้ Power Meter ไม่ใช้เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ (HR) หรือแม้แต่ไมล์จักรยานก็ไม่ใช้ และเขาก็ปั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมาก จึงรู้สึกเชื่อว่าการปั่นจักรยานขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเราว่ารู้สึกอย่างไรต้องทำอย่างไรเป็นเครื่องมือการฝึกที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์การกีฬาบอกว่าการปั่นแบบนี้เป็นการปั่นแบบ RPE นั่นเองโดยแบ่งระดับการปั่นเช่น 0-10 โดยที่ 10 อยู่ในระดับสูงสุด โดยการกำหนดระดับให้กับความพยายามที่ยากลำบาก นักปั่นจะสร้างระบบการหาปริมาณพลังงานแบบอัตนัยสำหรับตัวเองขึ้นมาเพื่อเป็นตัววัดโดยความรู้สึกจากกล้ามเนื้อและแรงของเค้าเอง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องอธิบายมากมายสำหรับวิธีคิดแบบนี้หากจะพูดคงพูดไม่หมดสำหรับการปั่นโดยใช้ความรู้สึก แต่การฝึกฝนแบบนี้ก็มีข้อดีตอนกรณีที่อุปกรณ์วัดค่าต่างๆ ของคุณเกิดใช้งานไม่ได้ในวันแข่งขันหรือระหว่างแข่งขัน คนที่ฝึกฝนด้วยวิธีนี้ก็จะสามารถแข่งขันต่อไปได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์และยังคงแข่งอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
นักปั่นระดับสูงๆ ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นเป็นนักกีฬาเก่งๆ (อารมณ์คนติสท์ๆ) อย่างไม่ต้องสงสัย เรียกได้ว่าเป็นพวก “ศิลปิน-นักกีฬา”
สำหรับสมัยนี้การปั่นด้วยความรู้สึกคงถูกมองว่าเป็นคนแบบนั้นเพราะการกระทำของพวกเขาเป็นอัตนัยทั้งหมดซึ่งมันถูกต้องและแม่นยำสำหรับตัวเขาเอง บนโลกนี้ก็ยังมีนักปั่นที่ติสท์ไม่ลงรายละเอียดต่างๆ ลึกอีกมากมายที่ต้องการแข่งโดยยึดตามความรู้สึกตัวเองอย่างเคร่งครัด ซึ่งบางคนก็สามารถทำได้สำเร็จ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ดี เนื่องจากการปั่นจักรยานด้วยความรู้สึกต้องใช้วิธีการที่สงบมีความพยายามสูงและมุ่งเน้นไปที่การแข่งขันอย่างมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อใช้ความรู้สึกของจนตั้งระดับพลังงานและความสามารถตัวเองขึ้นมาได้อย่างแม่นยำ ซึ่งวิธีการฝึกแบบนี้ก็ไม่ได้เหมาะสมกับนักปั่นทุกคนอย่างแน่นอน Power Meter หรือเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจจึงเป็นทางที่ดีกว่าสำหรับการฝึกซ้อมเพื่อสอนให้เรารู้ว่าความรู้สึกที่เหมาะสมนั้นเป็นอย่างไร
นักกีฬาอีกประเภทหนึ่งคือ “นักวิทยาศาสตร์ – นักกีฬา” นักกีฬาแบบนี้จะฝึกฝนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของตนเองโดยการทดลองและการวัดผลส่วนบุคคล ผลลัพธ์ที่ออกมาก็เพื่อให้พวกเขาสามารถค้นหาจุดที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขาได้ หากคุณเป็นหนึ่งในนั้นคุณจะประสบความสำเร็จด้วย Power Meter เนื่องจากว่ามันเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดสำหรับการทดลองค่าต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับนักปั่นจักรยาน หรือบางคนอาจจะเป็นส่วนผสมของศิลปินและนักวิทยาศาสตร์อย่าง Lance Armstrong ก็เป็นได้ คือชอบที่จะทดลองด้วยตัวเองก่อนและวัดผลทุกอย่างในการฝึกซ้อมอย่างแม่นยำด้วยอุปกรณ์ต่างๆ แม้แต่แคลอรี่ที่บริโภคไปจนถึงเสื้อผ้าและส่วนต่างๆ ของจักรยานก็เก็บผลและวิเคราะห์ให้ได้สิ่งที่ดีสำหรับตัวเอง เมื่อถึงการแข่งขันเขาก็สามารถเป็นศิลปินที่สามารถหลอกคู่แข่งได้ด้วยการแสดงความเหนื่อยล้าหรือยั่วยุให้คู่แข่งปั่นแซงขึ้นหลังจากที่โกรธจนเสียพลังงานอย่างมากแล้วเขาแซงไปในที่สุด เรียกว่าเป็นกลยุทธเลยก็ว่าได้ หรือเป็นได้แม้กระทั่งนักแข่งที่ใช้ค่าต่างๆ มาวางแผนการได้อย่างเฉียบขาดก็สามารถทำได้
อ่านมาถึงจุดนี้คุณอาจจะรู้แล้วว่าตอนนี้คุณเป็นนักกีฬาประเภทใดถ้าคุณไม่ได้ฝึกฝนและแข่งขันโดยความรู้สึกของตัวเองจนอยู่ในจุดสูงสุดของศักยภาพของคุณ เราก็มั่นใจได้ว่า Power Meter จะตอบโจทย์คุณอย่างแน่นอน ควรฝึกฝนการปั่นจักรยานของคุณอย่างหลากหลายรูปแบบ การฝึกซ้อมหลายแบบที่อ่านมาตั้งแต่ต้นจนถึงตอนนี้ หลายคนอาจจะคิดว่าเชียร์ให้ซื้อ Power Meter มาใช้ฝึกซ้อมแน่นอนเพราะเป็นอุปกรณ์ที่ดีสุดสำหรับการฝึกซ้อม ต้องตอบว่าไม่ใช่ซะทีเดียวนะครับ เราแนะนำว่าให้ใช้อุปกรณ์ทุกอย่างในการวัดค่าต่างๆ พร้อมกันเพื่อให้ได้ค่าต่างๆ ที่สัมพันธ์กันมาประมวลผลและวิเคราะห์วางแผนการปั่น อุปกรณ์แต่ละแบบมีความสำคัญในแบบของตัวเองและควรใช้งานควบคู่กันไปตลอดการปั่นจักรยาน
รูปนี้แสดงให้เห็นถึงกราฟของค่าการซ้อมโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ มันแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจ การซ้อมโดยใช้ความรู้สึก (RPE) ความเร็วและพลังงานในขณะที่ผู้ปั่นจักรยานกำลังปีนเขาอย่างต่อเนื่องและลงเขามาอีกด้านหนึ่ง แล้วเริ่มปั่นอีกครั้งอีกครั้งที่ทางราบ โปรดสังเกตว่าอัตราการเต้นของหัวใจ (HR) และ RPE มันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเริ่มไต่เขาขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ Speed และ Power ยังค่อนข้างคงที่ เมื่อปั่นลงมาเขา จากเขา Speed จะเพิ่มขึ้น ค่าต่างๆ จะลดลง จะเห็นได้ว่าอัตราการเต้นของหัวใจจะช้าในการตอบสนองคือจะค่อยๆ ลงนั่นเอง ความล่าช้านี้เป็นเรื่องปกติสำหรับอัตราการเต้นของหัวใจในการปั่นจักรยาน
มาดูที่ RPE ความรู้สึกหรือความพยายามจะเพิ่มขึ้นเมื่อไต่ขึ้นเมื่อความเหนื่อยล้าค่อยๆ เพิ่มขึ้น RPE ค่อนข้างจะลดลงอย่างรวดเร็วพอมาทางลงเขาแล้วก็จะเพิ่มขึ้นและจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งบนทางราบต่อไป ความเร็วยังคงอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องบนเนินเขาและจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากลงเขาและคงที่ในทางราบ มันสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลของค่าต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับการไต่เขา ลงเขา และทางราบ บางค่าเกือบตอบสนองทันทีต่อการเปลี่ยนผ่านจากการไต่เขาไปสู่ทางราบ
เพราะฉะนั้นการฝึกซ้อมก็ควรที่จะใช้อุปกรณ์วัดค่าต่างๆ ร่วมกันถ้าหากว่าคุณนั้นอยากจะพัฒนาทักษะและศักยภาพของคุณเองให้ดีขึ้น ไม่ควรใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัววัดค่าเพื่อการฝึกซ้อม ซึ่งตั้งแต่แรกที่เราอธิบายมาคุณจะเห็นได้ว่า Power Meter นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการฝึกซ้อมจริงๆ