จากมุมมองของผู้ใช้งานพาวเวอร์มิเตอร์ พาวเวอร์มิเตอร์นั้นมีหน้าที่หลักคือรายงานค่าวัตต์และรอบขาอย่างแม่นยำ ถึงแม้ว่าแนวคิดนี้จะดูเรียบง่ายแต่ระบบการทำงานของ Power Meter ก็มีความซับซ้อนมากสำหรับกระบวนการวัดนั้น ถึงแม้ว่าเราจะมั่นใจได้ว่าพาวเวอร์มิเตอร์นั้นจะสามารถวัดค่าวัตต์และรอบขาได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ก็มีข้อที่ควรพิจารณาหลายประการเกี่ยวกับวิธีการส่งข้อมูลที่แม่นยำจากพาวเวอร์มิเตอร์ไปยังไมล์จักรยานบางประเภทครับ

Components for Measuring Cadence – ส่วนประกอบสำหรับการวัดรอบขา

เมื่อพูดถึงรอบขาหลายคนจะเข้าใจได้ทันทีว่าค่าที่ออกมาจะเป็น Revolutions Per Minute หรือ RPM ในความหมายของมันคือการกำหนดระยะเวลาที่ขาจานจะทำการหมุนให้เต็ม 1 รอบ ครับ มันสามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์วัดค่าชิ้นเล็กๆ ที่เรียกว่า Accelerometer หรือ “มาตรวัดความเร่ง” ซึ่งมีอยู่ใน Stages Power

มาตรวัดความเร่งสามารถบอกเราได้ว่าขาจานกำลังชี้ไปทางใด ขาจานพาวเวอร์มิเตอร์นั้นสามารถวางตำแหน่งในแนวใดก็ได้และมาตรวัดความเร่งจะสามารถระบุทิศทางนั้นได้อย่างรวดเร็ว สิ่งนี้มีประโยชน์มากสำหรับการวัดรอบขามันจะทำให้เราสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของขาจานได้อย่างรวดเร็วในขณะที่ผู้ใช้ปั่นจักรยาน ปัญหาหลักของ Accelerometer คือ มันมีความไวต่อการเคลื่อนไหวทุกชนิด ดังนั้นหากผู้ใช้งานพาวเวอร์มิเตอร์ปั่นจักรยานผ่านถนนที่มีผิวขรุขระมาตรวัดความเร่งอาจจะให้ค่าที่ไม่ตรงเท่าที่ควรก็เป็นได้

อุปกรณ์อีกชิ้นบนแผงวงจรที่ใช้สำหรับการวัดรอบขาโดยเฉพาะคือไจโรสโคป (Gyroscope) แม้ว่าพาวเวอร์มิเตอร์ Stages Power Gen 1 2 และ Gen 3 จะมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่มีเพียงรุ่น Stages Power Gen 3 เท่านั้นที่มีไจโรสโคป “ไจโรสโคป” ไม่สามารถวัดตำแหน่งได้เหมือนกับมาตรวัดความเร่ง ไม่สามารถกำหนดทิศทางของพาวเวอร์มิเตอร์ได้ แต่ไจโรสโคปจะวัดว่าขาจานของคุณนั้นหมุนเร็วแค่ไหน ทำให้ Stages Power Gen 3 เป็นรุ่นที่มีความเสถียรและแม่นยำสูง

Cadence and Power Spikes – จังหวะและค่าวัตต์ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

เหตุใดรอบขาและค่าวัตต์จึงพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำไมเหตุการณ์นี้มันถึงเกิดขึ้นหากเราสามารถวัดตำแหน่งของขาจานและระบุค่าได้อย่างแม่นยำ? คำตอบสั้นๆ คือ บางสถานการณ์มันอาจทำให้เครื่องวัดความเร่งให้ค่าที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่ Stages Power Gen 3 มีระบบที่ซับซ้อนพอสมควรเพื่อใช้ในการกรองการอ่านที่ผิดพลาดเหล่านี้ให้เสถียรได้ โดยปกติขาจานโดยทั่วไปแล้วจะมีการติดตั้งมาตรวัดต่างๆ ที่สามารถวัดค่าและจับทิศทางได้ทั้งหมด 4 มุม คือ มุมที่ขาจานชี้ขึ้นด้านบน ขาจานชี้ลงด้านล่าง ขาจานชี้ไปทางด้านซ้ายและด้านขวา แต่การที่มันสามารถจับขาจานได้ทั้งหมด 4 มุม แบบนั้นจะทำให้ในบางกรณีค่าที่วัดออกมาเพี้ยนได้ Stages จึงมีการทดลองและปรับปรุงตัวเซนเซอร์ให้ใช้งานได้ดีขึ้นโดยการตัดการอ่านค่าตอนขาจานชี้ขึ้นด้านบนและชี้ลงด้านล่างออกไป ทำให้ค่าที่ได้ในขณะที่ปั่นนั้นออกมาตรงและเสถียรที่สุดโดยที่ไม่มีการรบกวนจากแรงสั่นสะเทือนหรือค่าที่วัดเพี้ยนจากบางองศาของขาจาน

สังเกตได้จากการที่เราทำการเช็คค่า ADC ของขาจาน Stages Power Gen 3 ทาง Stages Cycling ได้เน้นย้ำว่าต้องทำให้ขาจานที่เราวัดนั้นดิ่งลงในตำแหน่ง 6 นาฬิกา คือชี้ลงด้านล่างค่าถึงจะออกมาตรง ถ้าไปอยู่ในตำแหน่งที่ขาจานชี้ไปด้านซ้ายหรือด้านขวาจะไม่สามารถวัดหรือให้ค่าที่ตรงได้เลย แต่หากอยู่ในตำแหน่งที่ขาจานชี้ลงค่าที่ได้จะออกมาตรงและรวดเร็วมากเพราะว่าเขาตัดการอ่านค่าในทิศที่ขาจานดิ่งลงออกไปจึงได้ค่าที่ตรงและเสถียร

อ่านมาถึงจุดนี้อาจเกิดข้อสงสัยกันใช่ไหมครับว่าการทำแบบนั้นมันจะไม่ทำให้การวัดรอบขาและค่าวัตต์นั้นเพี้ยนหรือ? ไม่เพี้ยน! แต่มันกลับเที่ยงตรงกว่าเดิม! การวัดค่ารอบขาและวัตต์ทำได้ดีกว่าเดิมเพราะวัดจากมุมที่ขาจานชี้ไปข้างหน้าและด้านหลังซึ่งเป็นมุมที่เท้าของนักปั่นจะเริ่มออกแรงเหยียบและแรงงัดในจังหวะนั้น สังเกตได้จากการที่เราใช้มือหมุนขาจานแล้วเราอยากรู้ค่าวัตต์ สำหรับ Stages Power Gen 3 นั้น การใช้มือหมุนจะไม่ขึ้นค่าวัตต์ซึ่งหลายคนตกใจและคิดว่ามันเสีย แต่ความเป็นจริงคือด้วยการปรับปรุงที่กล่าวมาด้านบนนั้นทำให้เซนเซอร์ของมันจะวัดจากกำลังจากการปั่นจริงเท่านั้น การที่เราหมุนขาจานแล้วค่าวัตต์พุ่งขึ้นมามันเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าบางทีค่าที่ขาจานพาวเวอร์มิเตอร์วัดออกมาได้นั้นอาจจะไม่ใช่ค่าที่เกิดจากแรงที่เราส่งไปยังขาจานร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การที่ Stages Power นั้นวัดค่าจากแรงเหยียบโดยตรงมันเป็นเครื่องการันตีให้คุณได้เลยว่าค่าที่จะโชว์บนหน้าจอเรือนไมล์ของคุณนั้นคือของจริง!

ในขาจานบางรุ่นหรือรุ่นเก่าๆ ของ Stages Power ไม่ได้มีความสมบูรณ์แบบขนาดนั้น ด้วยคลื่นรบกวนที่ส่งผลต่อในระบบทำให้มันอาจไม่สามารถแยกความแตกต่างของรอบขาจากแรงสั่นได้ เนื่องจากผลกระทบอย่างรวดเร็วบนท้องถนนที่มีพื้นผิวขรุขระ เนื่องจากค่าวัตต์ส่วนหนึ่งคำนวณมาจากรอบขาในการปั่น หรือค่าวัตต์ที่มีการกระชากในการปั่น เนื่องจากเราไม่มีวิธีในการเชื่อมต่อพาวเวอร์มิเตอร์กับไมล์จักรยานทางสายไฟหรือทางกายภาพ การเชื่อมต่อทั้งหมดจึงต้องทำเป็นแบบไร้สายเพื่อให้แสดงค่าต่างๆ บนหน้าจอได้ ซึ่งสามารถใช้ได้กับสมาร์ทวอทช์ ไมล์จักรยาน คอมพิวเตอร์แสดงผล รวมถึงแอปพลิเคชันสำหรับการฝึกซ้อม พาวเวอร์มิเตอร์จึงจำเป็นต้องสามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง ANT+ และ Bluetooth นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก  ซึ่งในพาร์ทที่ 2 เรามาพูดถึงเรื่องของ ANT+ และ LR Power Meter Systems