การปรับระยะของจักรยานอินดอร์ให้เข้ากับตัวเองแบบเบื้องต้น

จากที่เราได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ StagesBike SB20 กันไปทำให้พี่ๆ หลายคนอาจสงสัยเกี่ยวกับการปรับระยะต่างๆ ของเจ้าจักรยานอินดอร์ตัวนี้ บางท่านถามว่ามันใช้ทำไบค์ฟิตติ้งได้หรือไม่ คำตอบที่ทาง Stages Cycling ให้กับเรามาคือมันสามารถใช้ทำไบค์ฟิตติ้งได้ และแน่นอนว่าเมื่อมันสามารถทำไบค์ฟิตติ้งได้มันก็สามารถนำค่าที่พี่ๆ เคยไปทำมาจำลองใส่ใน StagesBike ได้เช่นกัน แต่ในกรณีของผู้ปั่นมือใหม่ที่สนใจอยากจะซื้อ ก็คงมีความกังวลนิดหน่อยเกี่ยวกับการหาระยะที่เหมาะสม และผู้ปั่นที่มีจักรยานเสือหมอบอยู่แล้วก็คงสงสัยว่าถ้าไม่เคยทำไบค์ฟิตติ้งเราจะวัดระยะของจักรยานเรามาใส่ใน StagesBike ได้อย่างไร วันนี้เรามีตัวอย่างแบบคร่าวๆ มาบอกกันครับ ในกรณีที่พี่ๆ มีจักรยานเสือหมอบอยู่แล้วและอยากเซ็ตออกมาให้ตรงกับรถของพี่ๆ นั้นสามารถทำได้ไม่ยากแต่อาจจะต้องใช้อุปกรณ์นิดหน่อย โดยเครื่องมือเป็นเครื่องมือทั่วไป เช่น ตัววัดระดับน้ำ ไม้บรรทัด [...]

การปรับรถเพียง 1 มิลลิเมตร มีผลมากไหม กี่มิลลิเมตรถึงจะเห็นผล?

ห่างหายกันไปสักพักกับคอนเทนต์เรื่องการทำ Bike Fitting วันนี้เรามีหัวข้อดีๆ เกี่ยวกับการปรับตำแหน่งของจักรยาน โดย พี่เจ๋ Professional Bike Fitter มาฝากกันครับ ในหัวข้อนี้พี่เจ๋ได้ให้สัมภาษณ์เรื่อง 1 มิลลิเมตร มีผลมากไหม กี่มิลลิเมตรจึงจะมีผล ซึ่งต้องบอกก่อนว่าคอนเทนต์นี้เป็นเรื่องของความรู้สึกของแต่ละคน ซึ่งความรู้สึกของคนเรานั้นต่างกัน ลองอ่านบทความนี้ผ่านการแนะนำของพี่เจ๋กันดูครับเพื่อเป็นแนวทางให้นักปั่นหลายๆ คนที่อยากลองปรับตำแหน่งรถจักรยาน โดย พี่เจ๋ ได้บอกว่า ค่าที่เป็นมิลลิเมตรไม่ว่าจะเป็นในจุดไหนของจักรยาน เมื่อปรับแล้วย่อมมีผลหมด แต่จริงๆ แล้วจะมีผลต่อในแง่ของการวัดค่ามากกว่า ยกตัวอย่างเช่นในทางกายภาพ เพียงแค่ปรับความสูงเบาะเปลี่ยนไป [...]

การเลือกขนาดใบจานและขาจานที่เหมาะสมกับตัวผู้ปั่น PT.2

พาร์ทที่แล้วเราพูดถึงในเรื่องของการเลือกใบจานและอัตราทดเกียร์กันไปแล้วนะครับว่าทำไมถึงต้องเลือกให้เหมาะสม มาถึงในเรื่องของความยาวขาจานบ้างซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับใบจานและผู้ปั่นพอสมควร มันมีอะไรเกี่ยวข้องบ้างเราจะมาต่อกันในพาร์ทที่ 2 นี้แน่นอนว่าก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าใบจานกับอัตราทดเกียร์เลย ซึ่งพี่เจ๋ Professional Bike Fitter ได้บอกว่า หลายคนยังมีความเข้าใจที่ผิดอยู่นิดหน่อยว่าขาจานที่มีความยาว มันจะสามารถทำค่า Torque Effectiveness (ประสิทธิภาพของแรงบิดในการปั่น) ได้มากกว่าขาจานที่สั้นกว่า ซึ่งมันจริงในระดับหนึ่ง แต่มันไม่มีผลกับ Power ในการออกแรงถีบ เพราะว่ากรณีที่ขาจานยาวมันสามารถทำค่า Torque Effectiveness ได้เยอะกว่า แต่วงรอบในการเคลื่อนที่ของเท้าเรามันก็เยอะขึ้นเช่นกัน ถ้าจะรักษารอบขาให้ได้เท่ากับขาจานที่มีความสั้นก็จะต้องพยายามให้ขาเราเคลื่อนที่เร็วขึ้น “เพราะฉะนั้นเวลาเลือกขาจาน กรณีคนที่จะเลือกขาจานยาวๆ ไว้ก่อนแล้วบอกว่ามันออกแรงกดได้ดี [...]

การเลือกขนาดใบจานและขาจานที่เหมาะสมกับตัวผู้ปั่น PT.1

ขาจานและใบจานค่อนข้างมีผลต่อผู้ปั่นในระดับหนึ่งเลยทีเดียว เมื่อซื้อจักรยานประกอบสำเร็จมาย่อมมีขาจาน (crank) และใบจาน (Chainring) ติดมาให้อยู่แล้ว ทำให้หลายๆ คนก็จะนิยมใช้ของเดิมๆ ติดรถปั่นไปก่อน แต่บางคนไม่รู้ว่ามันสามารถถอดเปลี่ยนใบจานและมีขาจานขนาดต่างๆ ให้เลือกใช้ และหลายคนไม่รู้จะเลือกยังไงให้เหมาะสมกับตัวเราดี ในพาร์ท 1 นี้เราจะมาทำความเข้าใจในเรื่องของใบจานและความสำคัญของการเลือกอัตราทดที่เหมาะสมกับตัวผู้ปั่น โดย พี่เจ๋ Professional Bike Fitter กันครับ ในเรื่องของขนาดใบจาน การเลือกขนาดใบจานที่เหมาะสมกับตัวเรานั้นจะเป็นในเรื่องของอัตราการทดเกียร์ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของผู้ปั่นและสภาพเส้นทางเป็นหลัก คนที่มีความแข็งแรงก็จะสามารถใช้ใบจานที่มีอัตราทดเกียร์ได้สูงกว่าผู้ที่มีความแข็งแรงน้อย ยกตัวอย่างเช่นใบจานหน้า 53 เฟืองหลัง 11 ถ้าคนแข็งแรงจะสามารถคงรอบขา [...]

ธรรมชาติของแฮนด์จักรยานและการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสม Pt.2 เพิ่มเติมเรื่อง Stem

เมื่อต้นสัปดาห์ พี่เจ๋ Professional Bike Fitter ได้บอกถึงเรื่องการเลือกแฮนด์อย่างเหมาะสมและธรรมชาติของแฮนด์จักรยานแต่ละแบบกันไปแล้วว่ามีอะไรเป็นยังไงบ้าง แต่นั้นเป้นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น อันที่จริงแล้วยังมีอีกส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกันกับแฮนด์จักรยานเป็นอย่างมาก ก็คือสเต็ม (Stem) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างซางตะเกียบและแฮนด์จักรยาน แต่ความเป็นจริงสเต็มไม่ได้มีหน้าที่แค่นั้นแต่ยังช่วยในเรื่องระยะการเอื้มและความสบายในการปั่นของเราอีกด้วย มาดูกันต่อใน Pt.2 นี้ครับ ความเดิมตอนที่แล้วเราพูดถึงการเลือกความกว้างของ Handlebars คือ ให้เราวัดระยะจากปลายกระดูกหัวไหล่จากด้านนึงไปสู่อีกด้านแล้วเราจะได้ระยะที่เป็น center to center ไปเลือกแฮนด์ แต่ข้อควรระวังคืออย่าลืมดูว่าแฮนด์แต่ละยี่ห้อนั้นใช้การวัดระยะแบบไหน center to center, outside to [...]

ธรรมชาติของแฮนด์รถจักรยานและการเลือกแฮนด์อย่างเหมาะสม

นักปั่นที่ปั่นมาได้สักระยะนึงแล้วเราจะรู้ได้ว่าระยะต่างๆ ของจักรยานเรานั้นเหมาะกับเราจริงหรือเปล่า และส่วนใหญ่เมื่อเริ่มปั่นไปได้สักระยะเรามักจะอยากเปลี่ยนหรืออัพเกรดชิ้นส่วนต่างๆ ให้ดีขึ้นและเข้ากับเราได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวัสดุหรือระยที่เหมาะสมกับตัวเราก็ตาม วันนี้เรามาพูดถึงธรรมชาติของแฮนด์จักรยานและการเลือกแฮนด์ที่เหมาะสมกับตัวเรากันครับ โดยการสัมภาษณ์พี่เจ๋ Professional Bike Fitter อีกเช่นเคยครับผม มาดูกันว่าเราจะเลือกแฮนด์ที่เหมาะสมกับเราได้อย่างไร พี่เจ๋ได้บอกกับเราว่า ถ้าจะจำแนกประเภทแฮนด์จักรยานจริงๆ มันจะถูกย่อยออกไปเยอะมาก เพราะงั้นขอแบ่งแบบหลักๆ ก่อนก็คือมี แฮนด์จักรยานถนน (เสือหมอบ) กับ จักรยานภูเขา (เสือภูเขา) วันนี้เราจะมาเจาะลงในเรื่องของแฮนด์เสือหมอบ จะถูกแบ่งออกเป็น แฮนด์จักรยานถนนหรือเสือหมอบนั่นแหละ แฮนด์จักรยาน Gravel bike, Cyclocross [...]

อยากไปทำ Bike Fitting ควรเตรียมความพร้อมก่อนมาทำไบค์ฟิตยังไงดี

เราเคยได้เขียนคอนเทนต์เรื่องการทำ Bike Fit และการปรับส่วนต่างๆ ไปบ้างแล้ว แต่สิ่งพื้นฐานมากๆ อย่างเรื่องของการเตรียมตัวนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่หลายๆ คนนั้นไม่ทราบ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงในเรื่องการเตรียมตัวไปทำ Bike Fitting กันว่าเราควรเตรียมตัวอย่างไรดีจึงจะได้ผลของการทำ Bike Fit อย่างมีประสิทธิภาพ จากพี่เจ๋  Werit Pubpanont Professional Bike Fitter การเตรียมตัวก่อนมาทำไบค์ฟิตทั้งผู้หญิงและผู้ชายนั้นไม่ต่างกัน อย่างแรกก่อนที่จะมา Bike Fitting ต้องดูก่อนว่าเรามีปัญหาอะไรอยู่บ้างในตอนนั้น ถ้าหากพบเจอปัญหาอะไร ปั่นไม่สบายตรงจุดไหน เขียนลงใส่กระดาษให้หมด [...]

นักปั่นทั่วไปเซ็ตรถจักรยานแบบนักจักรยานมืออาชีพได้หรือไม่ มีผลกระทบอะไรหรือเปล่า

นักปั่นหลายคนที่ชอบดูรายการแข่งจักรยานก็คงจะอดใจไม่ได้เลยที่จะอยากเซ็ตตำแหน่งต่างๆ ของจักรยานให้สวยเหมือนที่นักแข่งใช้ปั่นกัน แต่ความเป็นจริงแล้วการเซ็ตรถแบบโปรที่แข่งขันกันมันอาจจะไม่เหมาะกับนักปั่นทั่วไปก็ได้ วันนี้เรามีบทสัมภาษณ์และคำแนะนำจาก พี่เจ๋ Professional Bike fitter มาให้อ่านกันครับ พี่เจ๋ได้บอกว่า สิ่งที่เหมือนกันสำหรับนักจักรยานมืออาชีพกับนักปั่นทั่วไป คือ “ความสบายและประสิทธิภาพในการปั่น” แต่เหตุผลที่ทำให้การเซ็ตรถนั้นมีความแตกต่างคือนักกีฬามืออาชีพหรือโปรเนี่ยเค้าจะมีอะไรที่พิเศษบางอย่างทำให้การเซ็ตรถของเขา “เอาความสบายเป็นรองก็ได้ แต่เอาประสิทธิภาพเป็นหลัก” “นักปั่นจักรยานมืออาชีพ” หรือ “โปรจักรยาน” เค้าจะมีความถนัดเฉพาะตัว ยกตัวอย่างเช่นวงขา การควงขา หรือการวางตำแหน่งตัวที่เค้ารู้สึกว่าเค้าโอเคกับจุดนั้น ซึ่งบางครั้งถ้าหากว่าเราไปปรับเปลี่ยนอะไรตรงจุดนั้นหรือเปลี่ยนมากไปมันอาจจะทำให้เค้าขาดความมั่นใจในการปั่น เค้าก็จะพยายามทำทุกอย่างให้มันกลับไปสู่ตำแหน่งเดิมที่เค้าถนัดและรู้สึกโอเค กรณีที่เค้ามีความถนัดเฉพาะตัวเราก็ไม่ต้องไปปรับเปลี่ยนอะไรเค้ามากเลยเพียงแค่เราซัพพอร์ทเค้าให้ได้มากที่สุดสบายสุดมีประสิทธิภาพที่สุดก็พอ แต่กลับกันถ้าเป็นในกรณีที่เป็นนักปั่นทั่วไปหรือนักปั่นที่พึ่งเริ่มปั่นใหม่ๆ อายุการปั่นไม่ถึงปีอันนี้ฟิตเตอร์ก็สามารถปรับเปลี่ยนอะไรเค้าได้เพราะเราต้องปรับให้คนที่มาฟิตติ้งนั้นปั่นแล้วสบายที่สุดให้ผลที่ดีกับนักปั่นที่สุด ถ้าเป็นโปรจริงๆ [...]

Bike Fit Content อาการปวดหลังและไหลที่พบเจอในการปั่นจักรยานเกิดจากอะไรแก้อย่างไร

จากคอนเทนต์ที่แล้วเราได้พูดคุยกับ เจ๋ Professional Bike fitter ถึงอาการปั่นไม่สบายในส่วนของช่วงขา, เข่า, และฝ่าเท้า ว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไรแล้วแก้ได้อย่างไรบาง แต่ว่าอาการปั่นไม่สบายที่พบเจอไม่ได้มีเพียงแค่นั้น ยังมีอาการอื่นๆ ที่พบเจอได้ทั่วไปอีกมากมาย วันนี้เราจะพูดถึงอาการปั่นไม่สบายในส่วนของหลัง, คอ, และช่วงไหล โดยเราได้สัมภาษณ์ เจ๋ Professional Bike fitter มาให้คำตอบกับพี่ๆ กันในวันนี้ครับ มาดูที่ส่วนแรกก็คือเรื่องของไหล่ พี่เจ๋ได้บอกว่า ต้องเช็คดูก่อนว่าสะบักตึงหรือช่วงไหล่ตึงไหม เพราะบางคนที่เขาทำงานแบบยกของหนักบ่อยหรือเล่นกล้าม สะบักจะตึงง่าย แล้วก็ต้องดูช่วงอกและลำตัวของผู้ปั่นด้วยว่าแข็งแรงดีไหม ถ้าช่วงอกไม่แข็งแรง [...]

ปัญหาอาการบาดเจ็บส่วนขาและเท้า ที่มักพบแทบทุกเคสของการทำ Bike Fitting

พี่ๆ ที่พึ่งเริ่มปั่นจักรยานนั้นอาจคิดว่าอาการปวดตามจุดต่างๆ ของร่างกาย คงเป็นเพราะว่าพึ่งเริ่มปั่นได้ไม่นานร่างกายเลยยังไม่ปรับตัวให้ชินกับการปั่นจักรยาน แต่เมื่อปั่นไปสักระยะแล้วกลับไม่เป็นอย่างนั้น อาการปวดนั้นไม่หายไปเลยหรืออาจมีอาการบาดเจ็บสะสมมากขึ้นด้วยซ้ำ จริงๆ แล้วอาการบาดเจ็บต่างๆ อาจไม่ได้เกิดจากการที่เราไม่ชินกับการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน แต่อาจเกิดขึ้นจากการที่เรานั้นปรับส่วนต่างๆ ของจักรยานไม่เข้ากับตัวผู้ปั่นเสียมากกว่า ผู้ปั่นจึงต้องมีการทำ Bike Fitting เพื่อแก้ปัญหานั้นๆ เว็บไซต์ Stepextra ได้พูดถึงเรื่อง Fitting ไว้ว่า “ถ้าจะพูดไปการทำ Bike Fitting ก็เปรียบเสมือนการปรับจูนเครื่องยนต์ให้อยู่ในจุดที่ Optimum ที่สุด และ การทำ Bike [...]

Load More Posts