เดินทางมาถึงกันในพาร์ทสุดท้ายของคอนเทนต์ “ทำไมประแจหกเหลี่ยม Park Tool ถึงมีหลายแบบ แต่ละแบบใช้ต่างกันไหม” ในพาร์ทนี้เราจะมาแนะนำประแจหกเหลี่ยม 3 แบบ สุดท้ายกันครับ
Park Tool MT-1 MULTI-TOOL เป็นประแจหกเหลี่ยมที่นักปั่นหลายท่านมักจะไม่ค่อยคุ้นชินกับหน้าตาของมันสักเท่าไหร่ แต่ถ้าหากพูดถึงในเรื่องของการพกพา MT-1 ถือเป็นประแจหกเหลี่ยมอีกตัวที่สามารถพกพาได้ง่ายดายที่สุดเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเก็บไว้หลังกระเป๋าเสื้อ หรือ ใส่ในกระบอกอุปกรณ์ ก็ทำได้อย่างง่ายดาย โดยวัตถุประสงค์ของประแจตัวนี้คือทำมาเพื่อใช้งานและพกพาในชีวิตประจำวันได้ง่ายที่สุดและมีหัวหกเหลี่ยมแบบครอบคลุมทุกจุด
ประแจหกเหลี่ยม Park Tool MT-1 MULTI-TOOL มีหัวหกเหลี่ยมแบบสั้น ขนาด 3 4 5 6 และ 8 มม. และมีหัวไขควงปากแบนมาในอุปกรณ์ด้วย ถึงจะบอกว่าเป็นอุปกรณ์หกเหลี่ยมแต่ในเครื่องมือนี้ยังมีหัวบล็อกประแจซ็อกเก็ต ขนาด 8 9 และ 10 มม. สำหรับไขน็อตหัวหกเหลี่ยมได้อีกด้วย
หากดูตามความเป็นจริง ATD-1.2 PTD-4 PTD-5 และ PTD-6 จะถูกนับอยู่ในหมวดหมู่ของประแจทอร์กเสียมากกว่า ประแจทอร์กทั้ง 4 รุ่นนี้ เป็นประแจทอร์กมือสำหรับขันค่านิวตันเมตร (Nm.) ตามจุด Cockpit ซึ่งในกระบอกของอุปกรณ์จะมีประแจหกเหลี่ยมอยู่หลายขนาด เราจึงอยากนำเสนออุปกรณ์ 4 ตัวนี้อยู่ในพาร์ทของประแจหกเหลี่ยมด้วย
ATD-1.2 เป็นประแจทอร์กมือขนาดเล็กพอดีมือที่ได้รับความนิยมสูงเนื่องจากสามารถขันค่านิวตันเมตร (Nm.) ได้อย่างเเม่นยำและมีหัวหกเหลี่ยมที่รองรับการขันน็อตตามจุด Cockpit ได้หลายจุด เช่น สเต็ม เบรก หลักอาน น็อตขากระติก เป็นต้น ATD-1.2 จะสามารถขันทอร์กได้ 4-6 นิวตันเมตร ในกระบอกอุปกรณ์จะมาพร้อมหัวหกเหลี่ยม ขนาด 3 4 5 มม. และ หัวดาว T25 เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเซอร์วิสจักรยานเองที่บ้าน
PTD-4 PTD-5 และ PTD-6 เป็นประแจทอร์กมือขนาดเล็กเช่นเดียวกับ ATD-1.2 รูปทรงและอุปกรณ์ที่ได้มาในกระบอกเครื่องมือนั้นจะเหมือนกัน เพียงแต่ว่าการขันค่านิวตันเมตร PTD-4 จะสามารถขันได้แค่ 4 นิวตันเมตร (Nm.) เท่านั้น เหมาะสำหรับผู้ที่อยากเซอร์วิสจักรยานเองที่บ้าน ถึงจะบอกว่าขันได้แค่เพียง 4 นิวตันเมตร แต่มันก็เพียงพอสำหรับการขันน็อตที่ใช้ยึดอุปกรณ์ที่ทำจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ เช่นเดียวกับ PTD-5 ก็จะสามารถขันได้แค่ 5 นิวตันเมตร (Nm.) PTD-6 ก็จะสามารถขันได้แค่ 6 นิวตันเมตร (Nm.)
สำหรับชุดหัวประแจหกเหลี่ยมและชุดหัวซ็อกเก็ตนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ชุด แต่ถ้าหากเอาเฉพาะชุดที่มีหัวประแจหกเหลี่ยมนั้นจะมีทั้งหมด 2 ชุด คือ SBS-3 และ SBS-1.2 ซึ่งวัตถุประสงค์ของชุดหัวประแจแบบนี้จะมีไว้เพื่อใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ประแจเบรกเกอร์บาร์ SWB-15 ประแจหัวฟรีซ้ายขวา SWR-8 หรือ ประแจทอร์ก TW-5.2 TW-6.2 เป็นต้น ช่องข้อต่อขนาด ⅜ นิ้ว ทำให้สามารถใช้งานร่วมกับประแจที่มีขนาดข้อต่อขนาด ⅜ นิ้ว ได้ ใช้ขันน็อตหรือขันค่านิวตันเมตร (Nm.) อะไหล่จักรยานตามจุดต่างๆ
SBS-3 ในชุดนี้จะมาพร้อมหัวประแจหกเหลี่ยมและหัวซ็อกเก็ตที่มีฐานข้อต่อขนาด ⅜ นิ้ว มีหัวหกเหลี่ยมขนาด 3 4 5 6 8 10 14 และ 16 มม. หัวหกเหลี่ยมแบบยาวขนาด 5 6 8 10 11 12 และ 15 มม. หกเหลี่ยมหัวดาวแบบยาว T20 T25 T30 T40 และ T45 หัวซ็อกเก็ตขนาด 8 9 10 11 12 13 14 15 17 19 มม. และ 1 นิ้ว (ซ็อกเก็ต 1 นิ้ว สามารถใช้กับเครื่องมือถอดล็อคลิงเฟืองเพื่อขันค่านิวตันเมตรเฟืองได้) ซ็อกเก็ต 24 26 27 28 30 32 มม. สำหรับอุปกรณ์โช๊คอัพจักรยาน
SBS-1.2 ในชุดจะมาพร้อมกับหัวประแจหกเหลี่ยมและหัวซ็อกเก็ตที่มีฐานข้อต่อ ⅜ นิ้ว มีหัวหกเหลี่ยมขนาด3 4 5 6 และ 8 มม. หัวหกเหลี่ยมแบบยาว 5 6 และ 10 มม. หัวดาวแบบยาว T25 T30 และ T40 หัวซ็อกเก็ต 8 9 10 13 14 15 มม. และ 1 นิ้ว (ซ็อกเก็ต 1 นิ้ว สามารถใช้กับเครื่องมือถอดล็อคลิงเฟืองเพื่อขันค่านิวตันเมตรเฟืองได้)
ซึ่งในกรณีเซอร์วิสเองที่บ้าน การเลือกชุดหัวประแจประเภทนี้นั้นอาจจะต้องเลือกตามความเหมาะสมในการใช้งานกับจักรยานของพี่ๆ นักปั่น เนื่องจากในชุด SBS-3 นั้นจะค่อนข้างมีหัวหกเหลี่ยมและซ็อกเก็ตที่เยอะและครอบคลุมมากกว่าก็จริงแต่หากเราไม่ได้ใช้งานก็ค่อนข้างน่าเสียดาย ท่านใดที่เซอร์วิสไม่ได้เยอะ SBS-1.2 ก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า แต่ทั้งนี้แล้วชุดหัวประแจรูปแบบนี้ยังสามารถนำไปใช้เซอร์วิสอย่างอื่นนอกจากจักรยานได้อีกด้วย