ในพาร์ทแรกเราได้ทำความรู้จักกับอุปกรณ์เซอร์วิสที่จะทำให้พี่ๆ นักปั่นหรือช่างเซอร์วิสนั้นทำงานได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายไปแล้ว 5 อุปกรณ์ คือ DC-1 DF-1 CG-2.4 BBT-10.2 THH-1 และ THT-1 ในพาร์ท 2 นี้เราจะมาต่อกันอีก 5 อุปกรณ์ครับ

ทุกๆ การปั่นจักรยานนอกบ้านย่อมมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเสมอ เช่น ยางรั่ว ยางแตก การที่เราพกที่งัดยาง ยางอะไหล่ และ แผ่นปะยางใน เป็นเรื่องที่อุ่นใจมากกว่าในยามที่ยางรั่ว ชุดปะยาง Park Tool TR-1 มีแผ่นปะยางใน GP-2 ที่ไม่ต้องใช้กาวก็สามารถปะรอยรั่วได้อย่างหนาแน่น และ มีที่งัดยางยอดนิยม TL-1.2 ของ Park Tool ทั้งหมด 3 ชิ้น เพื่อการใช้งานในการงัดยางนอกอย่างสะดวกสบาย ซึ่ง TL-1.2 นั้นจะมีปลายที่เป็นเขี้ยวสำหรับเกี่ยวขอบล้อได้อย่างดี และ ปลายแบนที่แข็งแรงสำหรับใช้งัดยางนอกได้ทั้งแบบขอบพับและขอบลวด ทำให้ชุดปะยางพกพานี้ใช้งานได้สะดวกสบายมาก 

หลายครั้งที่นักปั่นจักรยานมักจะหาแปรงหรือผ้าหลายแบบมาทำความสะอาดจักรยานแต่ก็ยังรู้สึกว่าไม่ได้ดั่งใจ อีกทั้งบางครั้งแปรงที่เลือกใช้นั้นยังทำความสะอาดได้ไม่หมดจดหรือสร้างรอยขีดข่วนให้อะไหล่จักรยานบางชิ้น สำหรับชุดแปรงทำความสะอาด Park Tool BCB-4.2 นั้นมีทั้งหมด 4 ชิ้น ที่ครอบคลุมทุกๆ การทำความสะอาดทุกส่วนของจักรยาน 

ในชุดจะมีแปรงขนอ่อนที่ไว้ใช้สำหรับทำความสะอาดเฟรมและขอบล้อโดยเฉพาะมั่นใจได้เลยว่ามันจะไม่ทำอันตรายต่อวัสดุเฟรมและขอบล้อของคุณอย่างแน่นอน มีแปรงที่ใช้สำหรับทำความสะอาดทุกซอกทุกมุมของจักรยาน 2 แบบ แบบแข็งสำหรับแปรงคราบสิ่งสกปรกที่ติดทน และ แบบขนอ่อนด้านข้างแบบโฟมเพื่อทำความสะอาดคราบตามซอกได้อย่างดี และยังมีแปรง GSC-1 ไว้สำหรับทำความสะอาดชุดขับและยังสามารถใช้ด้านปลายสำหรับเกี่ยวเศษสิ่งสกปรกในร่องเฟืองหรือตีนผีออกได้อีกด้วย  

จบทุกข้อสงสัยในวิธีการเซอร์วิสและการเลือกใช้เครื่องมือในการเซอร์วิสจักรยานทุกรูปแบบด้วยหนังสือสอนเซอร์วิสจักรยานจาก Park Tool รหัส BBB-4 ที่ได้รวบรวมและอัปเดตขั้นตอนและวิธีการเซอร์วิสจักรยานและอะไหล่ต่างๆ ไว้ในเล่มนี้เล่มเดียว เข้าใจง่ายเพียงแค่ดูรูปที่มีสีสันสดใสสำหรับขั้นตอนการเซอร์วิสเฉพาะส่วน เขียนโดยผู้ชำนาญการด้านการเซอร์วิสจักรยานโดยเฉพาะของ Park Tool นักปั่นท่านใดกำลังหัดเซอร์วิสเองที่บ้าน มีหนังสือเล่มนี้ไว้จะช่วยให้การเรียนรู้และการเซอร์วิสนั้นเป็นไปอย่างง่ายดาย 

ในหนังสือ BBB-4 นั้นได้รวบรวมทุกขั้นตอนในการเซอร์วิสจักรยานไว้หมดและยังมีการอัปเดตให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นปัจจุบันเรียบร้อย อีกทั้งยังมีการอัปเดตเพิ่มเติมอีกมากมาย เช่น เรื่อง 12-speed และ 1x drivetrains เรื่อง การใช้งานยาง Tubeless เรื่อง Disc brakes เรื่องระบบเปลี่ยนเกียร์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic shifting คอนเทนต์ใหม่ๆ เกี่ยวกับล้อจักรยาน เรื่องมาตรฐานกระโหลกจักรยานและแฮนด์เซ็ต เรื่องการใช้ประแจทอร์คขันค่าทอร์ค ตารางการเซอร์วิสต่างๆ รับรองว่าครบสำหรับการเรียนรู้

กำลังอยากหาอุปกรณ์พกพาสักชิ้นที่ค่อนข้างครอบคลุมสำหรับการปั่นนอกสถานที่อยู่หรือเปล่า ถ้าคุณกำลังหาอุปกรณ์ชิ้นนั้นอยู่ Park Tool มีอุปกรณ์พกพาเจ๋งๆ ที่รวมชุดประแจและสิ่งจำเป็นสำหรับคุณไว้ใน MT-40 และ MTC-40 

MT-40 และ MTC-40 มีอุปกรณ์ด้านในเหมือนกัน ต่างกันแค่วัสดุของบอดี้ที่ MT-40 เป็นอลูมิเนียมสีน้ำเงินเงาสวยงาม และ MTC-40 เป็นพลาสติกสีน้ำเงิน แต่น้ำหนักที่ออกมานั้นไม่ได้ต่างกันเลย น้ำหนักอยู่ที่ 243 กรัม เท่านั้น 

ในชุดเครื่องมือจะประกอบไปด้วย ประแจหกเหลี่ยมหัวขนาด 2.5 3 4 5 6 และ 8 มม. มีประแจหัวดาว T25 T30 และ ไขควงปากแบนที่ใช้ได้ทั้งขันหรืองัดอะไหล่บางชิ้นได้ มีอะแดปเตอร์สำหรับแปรงหัววาล์วเพื่อต่อเข้ากับที่เติมลม Co2 พกพาได้ ทั้งนี้ในเครื่องมือนี้ยังมีเครื่องมือตัดโซ่ที่ใช้ได้ตั้งแต่ 8-12 สปีด เลยทีเดียว   

ถ้าพูดถึงสิ่งที่จำเป็นและสิ่งที่จะทำให้การเซอร์วิสจักรยานนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายดาย ก็คงต้องพูดถึงสิ่งนี้ด้วย คือ แท่นซ่อมจักรยานยอดนิยม Park Tool PCS-9.2 และ PCS-10.2 การเซอร์วิสจักรยานจะเป็นเรื่องที่สะดวกสบายและง่ายขึ้นมากถ้าหากมีแท่นซ่อม

แท่นซ่อม PCS-9.2 กับ PCS-10.2 ทั้งสองรุ่นนี้หน้าตาคล้ายกันและแตกต่างกันเพียงไม่กี่จุด โดยเบื้องต้นแล้วจุดที่เหมือนกัน คือ สามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 36 กิโลกรัม ขาตั้งสามารถพับเก็บได้ง่าย แคลมป์รองรับขนาดเฟรมได้ถึง 25-76 มม. และ ยังสามารถจับกับหลักอานได้ด้วย 

โครงสร้างทำมาจากเหล็กเพื่อความแข็งแรงและทนทาน ท่อของแท่นมีรูปทรงแบบหยดน้ำทำให้มีความแข็งแรงมากขึ้น หัวแคลมป์สามารถหมุนองศาการซ่อมได้ 360 องศา สามารถปรับความสูงของเเท่นได้ 99 – 145 ซม. สามารถติดอุปกรณ์เสริมต่างๆ เพิ่มได้ เช่น ถาดวางเครื่องมือซ่อมจักรยาน (106) และ ที่แขวนกระดาษทิชชู่ (PTH-1) ของ Park Tool ถ้าหากชิ้นส่วนใดของแท่นซ่อมจักรยานชำรุดสามารถซื้ออะไหล่แยกชิ้นได้ 

ในเรื่องของความแตกต่างของทั้งสองรุ่น คือ ตัวรุ่นพี่อย่าง PCS-10.2 จะสามารถพับเก็บและปรับระดับได้สะดวกรวดเร็วกว่า PCS-9.2 เพราะ PCS-10.2 ตรงส่วนข้อต่อจะเป็นระบบเหมือนแกนปลดไวซึ่งเวลาทำงานเซอร์วิสความเร็วและความไวถือเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่ PCS-9.2 จะเป็นระบบมือหมุนขันแน่น ทั้งนี้แล้วหัวแคลมป์ของ PCS-10.2 ยังเป็นหัวบิดแบบปลดไวอีกด้วยทำให้เวลาทำการเซอร์วิสเราจะสามารถปรับหัวจับท่อหลักอานหรือท่อเฟรมจักรยานได้อย่างรวดเร็ว  

โดยรวมแล้วการใช้แท่นซ่อมจักรยานไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหนก็สามารถทำให้การเซอร์วิสจักรยานนั้นง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น เพียงแค่ว่าถ้าหากอยากได้ฟังก์ชันเพิ่มขึ้นก็อาจจะต้องเลือกรุ่นที่มีฟังก์ชันที่สะดวกสบายมากขึ้นนั่นเอง